วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน

การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน หมายถึงการท่องเที่ยว รวมถึงการจัดบริการอื่นๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยต้องดำเนินการภายใต้ขีดความสามารถของธรรมชาติ ชุมชน ขนบธรรมเนียบ ประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิตที่มีต่อขบวนการท่องเที่ยว ต้องตระหนักดีต่อการมีส่วนร่วมของประชากร ชุมชน ขนบธรรมเนียบ ประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิตที่มีต่อขบวนการท่องเที่ยว ต้องยอมรับให้ประชาชนทุกส่วนได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการท่องเที่ยวอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน ต้องชี้นำภายใต้ความปรารถนาของประชาชนท้องถิ่นและชุมชนในพื้นที่ท่องเที่ยวนั้นๆ

การท่องเที่ยวแบบยั่งยืนมีหลักการดังนี้
1.การอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรอย่างพอดี ทั้งที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ สังคม และวัฒนธรรม เป็นสิ่งสำคัญ และเป็นแนวทางการทำธุรกิจในระยะยาว
2.การลดการบริโภคที่มากเกินจำเป็น และการลดของเสีย จะช่วยเลี่ยงค่าใช้จ่ายในการทำนุบำรุงสิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลายในระยะยาว และเป็นการเพิ่มคุณภาพของการท่องเที่ยว
3.การรักษาและสิ่งเสริมความหลากหลายของธรรมชาติ สังคม และวัฒนธรรม มีความสำคัญต่อการท่องเที่ยวในระยะยาว และช่วยขยายฐานของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
4.การประสานการพัฒนาการท่องเที่ยวเข้ากับกรอบแผนกลยุทธ์การพัฒนาแห่งชาติ การพัฒนาท้องถิ่น และการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม จะช่วยขยายศักยภาพการท่องเที่ยวในระยะยาว
5.การท่องเที่ยวที่รองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจของท้องถิ่น โดยพิจารณาด้านราคา และคุณค่าของสิ่งแวดล้อมไว้ ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดการประหยัด แต่ยังป้องกันสิ่งแวดล้อมไม่ให้ถูกทำลายอีกด้วย
6.การมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ของท้องถิ่นในสาขาการท่องเที่ยว ไม่เพียงแต่สร้างผลตอบแทนแก่ประชากรและสิ่งแวดล้อมโดยรวม แต่ยังช่วยยกระดับคุณภาการจัดการการท่องเที่ยวอีกด้วย
7.การปรึกษาหารือกันอย่างสม่ำเสมอ ระหว่างผู้ประกอบการ ปะชาชนท้องถิ่น องค์กรและสถาบันที่เกี่ยวข้อง มีความจำเป็นในการที่จะร่วมงานไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งร่วมแก้ปัญหา และลดข้อขัดแย้งในผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน
8.การฝึกอบรมบุคลกร โดยสอดแทรกแนวคิดและวิธีปฏิบัติในการพัฒนาแบบยั่งยืนต่อบุคลากรท้องถิ่นทุกระดับ จะช่วยยกระดับการบริการการท่องเที่ยว
9.การตลาดที่จัดเตรียมข้อมูลอย่างพร้อมมูล จะทำให้นักท่องเที่ยวเข้าใจและเคารพในสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ สังคม และวัฒนธรรมของแหล่งท่องเที่ยว และจะช่วยยกระดับความพอใจของนักท่องเที่ยวด้วย
10.การวิจัยและการติดตามตรวจสอบอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต่อการช่วยแก้ปัญหา และเพิ่มผลประโยชน์ต่อแหล่งท่องเที่ยว นักท่องเที่ยว และนักลงทุน

รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ
1.การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
2.การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล
3.การท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา
4.การท่องเที่ยวเชิงเกษตร
5.การท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์

รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรม
1.การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
2.การท่องเที่ยวงานชมวัฒนธรรมและประเพณี
3.การท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตในชนบท

รูปแบบการท่องเที่ยวในความสนใจพิเศษ
1.การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
2.การท่องเที่ยวเชิงทัศนศึกษาและวัฒนธรรม
3.การท่องเที่ยวแบบผสมผสาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วังน้ำเขียว

วังน้ำเขียว

ปฏิทิน